วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563
พระพุทธรูปบนพระมาลาเบี่ยง
ประวัติ
พระพุทธรูปทองคำ ๒๑ องค์ รายรอบพระมาลาเบี่ยงนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับสั่งว่า คนทอดแหได้พบพระพุทธรูปดังกล่าวในลำแม่น้ำมูล ซึ่งอาจจะตรงกับบริเวณวังปลัด แขวงเมืองนครราชสีมา ต่อมาพระยานครราชสีมานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปเหล่านี้ประดิษฐานรอบพระมาลาเบี่ยงที่ทรงสร้างขึ้น
คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของราชอาณาจักรเขมรในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘
พุทธลักษณะ
พระพุทธรูปที่ประดิษฐานรายรอบพระมาลาเบี่ยงประกอบด้วยพระพุทธรูปในสองอิริยาบถคือ พระพุทธรูปประทับยืน และพระพุทธรูปประทับนั่ง พระพุทธรูปยืนเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพักตร์ค่อนข้างกลม แย้มสรวล ทรงศิราภรณ์เป็นชฎามุกุฎซ้อนกันสามชั้น ทรงกุณฑลรูปตุ้ม ประทับยืนตรงแสดงอภัยมุทราด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง ทรงกรองศอ พาหุรัด ทองกร และทองพระบาทจำหลักลาย รัดประคดประดับเครื่องเพชรพลอย มีอุบะขนาดสั้นห้อยประดับกับทั้งมีชายภูษารูปหางปลาห้อยย้อยลงมาเบื้องหน้าทับบนอันตรวาสก
ขอบคุณเนื้อหาและภาพจากศิลปะพระเครื่องปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๕
เรียบเรียง by krisda paleeriam
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
พญาครุฑ
ครุฑ (สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์ในนิยายในประมวลเรื่องปรัมปราฮินดูและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแ...

-
พระหูยานลพบุรี จากเว็บข่าวสด พระเครื่องเนื้อตะกั่ว อย่าได้มองข้ามเพราะว่าได้มีการสร้างมาแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นพระหูยานล...
-
พระปิดตาหัวบานเย็น พระปิดตาหัวบานเย็น พระปิดตาหัวบานเย็น สร้างจากผงหัวบานเย็น มีรูปลักษณ์เป็นพระมหาอุตม์แบ...
-
พระขุนแผนไข่ผ่าซีก เป็นพระกรุวัดพระรูป (เนื้อดิน) จ.สุพรรณบุรี อาผมเคยมีและได้ช่วยชีวิตเขาไว้ในกาลต่อมา วัดพระรูปอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี ผ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น