วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ประเภทของเหล็กไหล(ตอนที่ 2)


      6. เหล็กไหลชีปะขาว เหล็กไหลประเภทนี้มีสีขาวเป็นมันเลื่อมคล้ายเกล็ดงู เกจิอาจารย์บางท่านเรียกว่า “พญางูเผือก” พวกพระลามะธิเบตชอบมีไว้ประจำตัวเพราะมีมากในถ้ำในภูเขาแถบธิเบต ส่วนประเทศไทยเราจะพบเห็นตามถ้ำทางภาคเหนือ และลึกเข้าไปในแคว้นเชียงตุงของพม่า และทางลาวเหนือ เพราะเหล็กไหลชีปะขาวชอบอากาศหนาวจัด มีอานุภาพทางแคล้วคลาดล่องหนหายตัวได้ชั่วคราว ถูกไฟไม่ยืด แต่ถ้าใช้คาถาอาคมยืดได้ มีมายาในตัวงอกขึ้นได้เล็กลงได้
     7. ขี้เหล็กไหล หรือโคตรเหล็กไหล เหล็กไหลประเภทนี้เกิดจากเหล็กไหลถูกพลังฌานเรียกให้มารวมตัวกันอยู่เป็นกระจุก แล้วถูกผู้มีอาคมขลังไปเชิญหรือไปทำพิธีตัดเอาเหล็กไหลส่วนหนึ่งออกไปเหลือแต่ฐานติดผนังถ้ำหรือพื้นถ้ำ ซึ่งส่วนที่เหลือนี้เองที่เรียกกันว่า “โครตเหล็กไหล” หรือ “ขี้เหล็กไหล”
     เหล็กไหลประเภทนี้บางคนก็เรียกว่าเป็นเหล็กไหลตายซาก ไม่มีอานุภาพยืดได้หดได้ เพิ่มหรือลดน้ำหนักได้ เพียงแค่เป็นธาตุกายสิทธิ์เท่านั้น เป็นเหล็กไหลที่ไม่มีชีวิตแล้วแต่ถ้ามีเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนำเอามาปลุกเสก เหล็กไหลประเภทนี้ก็อาจจะมีฤทธิ์เดช มีอานุภาพขึ้นมาได้เหมือนกัน
     8. เหล็กเปียก เหล็กไหลประเภทนี้มีวรรณะสีขาวขุ่นเหมือนตะกั่ว เป็นโลหะธาตุที่มีเนื้อเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา คล้ายถูกหมอกน้ำค้างจับเกาะ หากพกพาไว้ในตัวเข้าไปในสถานที่ร้อนอบอ้าว ก็จะเปลี่ยนบรรยากาศให้ชุ่มเย็นได้ ถ้าเอาไว้ใกล้ ๆ ปืนบรรจุกระสุน จะทำให้กระสุนด้านหมด มีอานุภาพป้องกันฟ้าผ่า คงกระพันกันอาวุธทุกชนิด และทำให้หนังเหนียว

ติดตามตอนต่อไป
จากหนังสือเหล็กไหลธาตุกายสิทธิ์(คุณวิทยา ประทุมธารารัตน์ บรรณาธิการ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พญาครุฑ

ครุฑ (สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์ในนิยายในประมวลเรื่องปรัมปราฮินดูและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแ...