วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เหล็กไหลในลาว (ตอนที่ 7)

     ต่อมาวันรุ่งขึ้น ซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปี พ.ศ.2481 หรือประมาณ 81 ปีมาแล้ว (“ไตรทิพย์” บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ.2535) พระอาจารย์ทั้ง 5 ได้เตรียมการที่จะขึ้นไปยังภูเขาควายอีก หลังจากฉันเพลแล้วจึงได้ออกเดินทางตามฤกษ์ โดยมีสามเณรจันดีติดตามไปด้วยอีก เมื่อขึ้นไปถึงถ้ำสระบัวก็พบว่า การเผาข้าวหลามเมื่อวันวานนี้ทำให้ถ้ำสกปรกมาก เพราะขี้เถ้าเขม่าควันกระจัดกระจาย พระอาจารย์วันนาจึงสั่งให้สามเณรจันดีที่จะเผาข้าวหลามอีก ให้เอาข้าวหลามไปเผาที่ข้างนอกถ้ำ

เหล็กไหลสีท้องปลาไหลจากเว็บพันทิพ

     เหตุที่จะเผาข้าวหลามอีกในตอนบ่าย ไม่ใช่เพราะอยากจะฉันข้าวเย็นแต่ประการใด หากเตรียมเผาข้าวหลามเอาไว้ขบฉันในตอนเช้า เพราะได้กำหนดไว้ว่า คืนนี้จะนอนค้างในถ้ำ การเตรียมอาหารบิณฑบาตไว้ล่วงหน้าย่อมเป็นความรอบคอบไม่ประมาท หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นในคืนนั้นหรือในวันรุ่งขึ้น ก็จะได้ไม่กังวลเรื่องอาหารขบฉัน เพราะได้หลามข้าวเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วหลายกระบอกนั่นเอง
     เห็นจะเป็นด้วยปุพวาสนาในทางธรรมของสามเณรจันดี ที่จะเป็นผู้มีวาสนาบารมีก้าวหน้าในทางธรรมไปอีกไกลในอนาคต ดวงชะตายังไม่ถึงคราวขาดถึงฆาต และมีเทวดาอุ้มชูรักษา จึงบันดาลให้อาจารย์วันนาสั่งให้ออกจากถ้ำไปทำการเผาจี่ข้าวหลามที่ข้างนอกถ้ำ ความจริงสามเณรจันดีอยากจะอยู่ในถ้ำ ดูพิธีกรรมตัดเหล็กไหลให้เห็นจะ ๆ กับตา เมื่อถูกให้ไล่ออกมาจากถ้ำมาหลามข้าวหลาม จึงรู้สึกผิดหวังเสียใจอยู่ไม่น้อย เพราะไม่ได้ดูชมการตัดเหล็กไหล
     สามเณรจันดีเที่ยวเก็บไม้ฟืนแถว ๆ ข้างนอกถ้ำมาก่อไฟขึ้นเผาข้าวหลาม ส่วนหูนั้นก็คอยสดับตรับฟังเสียงพระอาจารย์ทั้ง 5 สวดมนต์ดังกระหึ่มลอดออกมาจากข้างในถ้ำอยู่ตลอดเวลา ก็พอจะเดาออกว่าข้างในถ้ำกำลังทำพิธีกรรมตัดเหล็กไหลอย่างไร เพราะได้ฟังแผนการตัดเหล็กไหลมาแล้ว ตอนที่พระอาจารย์ทั้ง 5 ปรึกษาวางแผนกันตอนอยู่ที่บ้านหัวดง ตามแผนมีอยู่ว่า

ติดตามตอนต่อไป
จากหนังสือเหล็กไหลธาตุกายสิทธิ์โดยทีมงานเฉพาะกิจ
วิทยา ประทุมธารารัตน์ บรรณาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พญาครุฑ

ครุฑ (สันสกฤต: गरुड) เป็นสัตว์ในนิยายในประมวลเรื่องปรัมปราฮินดูและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคแ...